วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553





"โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร"




ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร
กองทุนพระราชทานเพื่อการเกษตร

ที่ตั้งของโครงการ ตำบลบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

พระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

สรุปพระราชดำริ ช่วยเหลือ เกษตรกรที่อาศัยในโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร

ประเภทของหมู












สุกร
หรือ หมู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลาย ชนิดในวงศ์ Suidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sus domesticus เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน จมูกและปากยื่นยาว มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและที่เป็นสัตว์ป่า หาอาหารโดยใช้จมูกดูด สุกรแบ่งเป็นพันธุ์แท้ และพันธุ์ลูกผสม ประเภทของพันธุ์สุกร แบ่งออกเป็น
  1. ประเภทพันธุ์มัน (Lard Type) ได้แก่สุกรพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ควาย พันธุ์ราด พันธุ์พวง พันธุ์กระโดน และพันธุ์ไหหลำ
  2. ประเภทพันธุ์เบคอน (Bacon Type) ได้แก่ พันธุ์ลาร์จไวท์ และพันธุ์แลนด์เรซ
  3. ประเภทพันธุ์เนื้อ (Meat Type) ได้แก่ พันธุ์ดูรอค พันธุ์แฮมเชียร์ และพันธุ์เพียแทรน
โดยหมูบ้านปัจจุบันทั้งหมดเป็นหมูที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากหมูป่าชนิด S. scrofa
สายพันธุ์ของสุกร
1) Large White(พันธุ์ลาร์จไวท์) เกิดจาการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Leicester (ไลเคศเตอร์) กับสุกรพันธุ์ Yorkshire (ยอร์คชายร์)เป็นสุกรดั้งเดิมในเมืองยอร์คชายร์ นำเข้าไปที่อเมริกา แคนนาดา ในคตวรรษที่ 19 ลักษณะ ขนและหนังสีขาวตลอดลำตัว บางตัวอาจจะมีจุดสีดำปรากฏที่ผิวหนังบ้าง จมูกยาว หูตั้ง หัวโต ลำตัวยาว แคบลึก ไหล่โต แต่สะโพกไม่โตเห็นเด่นชัดนัก(ตัวผู้โตเต็มที่ 250 - 300 กก. ตัวเมีย 150 - 220 กก.)เจริญเติบโตเร็ว ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง
2) Landrace (พันธุ์แลนด์เรซ) กำเนิดที่ประเทศเดนมาร์กต้นกำเนิดคือ Large White กับพันธุ์ดั้งเดิมของเดนมาร์ก จึงตั้งชื่อว่า Damish Landraace ปรับปรุงโดยเน้นให้สุกรมีเนื้อ 3 ชั้นสวย อเมริกานำเข้าประเทศศตวรรษที่ 19 โดยผสมกับพันธุ์ Poland China ลักษณะ จมูกยาว หัวเรียวเล็ก หูปรกใหญ่ลำตัวยาว จำนวนซี่โครงประมาณ 14 - 17 คู่ หนาลึก ไหล่กว้างหนา ขาสั้น กระดูกเท้าอ่อนกว่าพันธุ์อื่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ให้นมมาก เติบโตเร็ว
3) Doroc Jersey (ดูร็อคเจอร์ซี่) อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา สีแดง บางที่ว่าสีแดงเกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่าง พันธุ์ Tamwoth เป็นลูกผสมของ Jersey Red ผสมกับพันธุ์ Doroc ลักษณะ สีแดงล้วนในปัจจุบันมีสีตั้งแต่ น้ำตาลฟางข้าวถึงน้ำตาลแดงเข้ม แข็งแรง บึกบึน เลี้ยงลูกเก่ง หน้าหักเล็กน้อย โคนหูตั้งปลายหูปรกเล็กน้อย หูใหญ่ปานกลาง ให้เนื้อดี เหมาะใช้เป็นสายพ่อพันธุ์
4) Cherter White (เชสเตอร์ไวท์) เป็นสุกรเมืองเชสเตอร์ ผสมจาก Large White กับ Lincollnshire(จาก 3 สายพันธุ์) ลักษณะ สุกรขาวแต่อาจมีจุดดำ รูปหน้าเล็กสวยงาม หน้าตรงยาวปานกลาง หูปรก ตาโต ตะโพกอวบนูน ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง แต่มีข้อเสียคือไม่ทนต่อสภาพแดด
5) Berckshire (เบอร์กเชียร์) ต้นกำเนิดอยู่ที่เมืองเบอร์กเชียร์ตอนใต้ของอังกฤษ เป็นลูกผสมระหว่าง สุกรอังกฤษ จีน และไทย สีดำ มีสีขาวอยู่ 6 แห่ง คือ หน้าผาก ปลายหาง เท้าทั้ง 4 จมูกสั้น หน้าหัก หน้าผากกว้าง หูเล็กตั้งตรงแต่อายุมากหูจะปรกไปด้านหน้าเล็กน้อย คางใหญ่ย้อยมาถึงลำคอเป็นสุกรขนาดกลางตะโพกใหญ่ บึกบึน ใช้เป็นสุกรสายพ่อพันธุ์ ให้เนื้อมาก
6) Poland China (โปแลนด์ไชน่า) ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาเป็นพันธุ์ที่ผสมมาจากสุกรรัฐเซีย จีน อังกฤษ ชาวโปแลนด์เลี้ยงจึงขึ้นต้นด้วย Poland แต่สายพันธุ์มาจาก China ลักษณะ สีดำ มีจุดขาว 6 แห่ง 4 แห่งที่เท้า และอีก 2 แห่งที่จมูกและหน้าผาก หน้าผากยาวปานกลาง ลำตัวยาว ลึก หลังกว้าง ให้เนื้อดี หน้าหักเล็กน้อย หูปรก
7) Spotted Poland China เกิดจากการผสมระหว่างสุกรจีนกับ Poland China จะมีสีดำ : ขาว สีขาวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้รวมสีขาวที่เท้า
8) Hamshire (แฮมเชียร์) อยู่ตอนใต้ของอังกฤษ มีแถบขาวพาดที่ไหล่ ผสมระหว่างพันธุ์ที่มีสีขาวพาดที่อกกับพันธุ์ของอังกฤษ(Exxes) ลักษณะหน้ายาว หูตั้ง สีดำ ให้ลูกดก แข็งแรง สุกรให้เนื้อ มีความคงทนต่อดินฟ้าอากาศและเชื้อโรค แต่มักเป็นโรคโพรงจมูกอักเสบง่าย
9) Pietrain มาจากเบลเยี่ยม ลำตัวขาว ตะโพกสวย และจะมีกล้ามเนื้อที่ไหล่และตะโพก ที่มีการพัฒนามีลักษณะซากที่ดีกว่าพันธุ์อื่น แต่การเติบโตช้า อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อไม่ดี
สุกรพื้นเมืองในไทย จะเรียกชื่อตามที่อยู่ มีขนาดเล็ก เติบโตช้า หลังแอ่น พุงหย่อน หนังหนา ตะโพกเล็ก อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำ
1) พันธุ์ไหหลำ เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในสุกรพันธุ์พื้นเมือง ขนาดหัวใหญ่ปานกลาง คางหย่อน ไหล่กว้าง พุงหย่อน หลังแอ่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ตัวผู้หนัก ประมาณ 120 - 150 กก. ตัวเมียหนักประมาณ 90 - 110 กก. เลี้ยงในภาคกลางและภาคใต้
2) พันธุ์ควาย เลี้ยงมากตามภาคเหนือ สีคล้ายพันธุ์ไหหลำ หน้าผากมีรอยย่นใบหูใหญ่ปรก(ตกปลาย)ปลายหูเล็ก พุงหย่อน หลังแอ่น ขนาดเล็กกว่าพันธุ์ไหหลำ ตามีวงแหวนสีขาวรอยดวงตา เติบโตช้า
3) หมูกระโดนหรือหมูราด คล้ายกับพันธุ์ Berkshire ตัวสั้น ป้อม ใบหูเล็กตั้งตรง ว่องไว ปราดเปรียว หากินในป่าเก่ง กระดูกเล็ก เนื้อแน่น
4) พันธุ์พวง ขนแข็ง ผิวหนังหยาบ คางใหญ่ ไหล่กว้าง ตะโพกเล็ก หลังแอ่น พุงหย่อน




การเลี้ยงหมูลาน



การเลี้ยงหมูลาน
การเลี้ยงหมูลานเป็นการเลี้ยงหมู แบบเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเป็นการเลี้ยงหมูแบบไม่เน้นหลักการอะไร มีการนำวัสดุเหลือใช้มากั้นเป็นคอกหมู ไม่ว่าจะเป็นไม้ไผ่ เศษไม้กระดานที่เหลือใช้แล้ว ส่วนพื้นคอก ก็จะใช้เป็นขุยมะพร้าว และแกลบ มาโรยไว้ในคอก เพื่อให้หมูได้เดินและมูลของหมูจะผสมกับแกลบและขุยมะพร้าวทำให้เป็นปุ๋ย และราดน้ำหมักชีวภาพเพื่อให้มีกลิ่นน้อยที่สุด โดยน้ำหมักชีวภาพเกิดจากการนำพืชสดที่เหลือจากการกินมาหมักไว้กับกากน้ำตาล และหัวเชื้อ EM โดยใช้ระยะเวลา 7 วันก็สามารถนำน้ำหมักนั้นมาราดคอกหมูได้
ข้อดีก็คือ
  • ต้นทุนการ เลี้ยงหมูถูก เพราะไม่ต้องสร้างคอกให้ได้มาตรฐาน
  • เมื่อขายหมูได้ก็สามารถขายปุ๋ย ได้เช่นกัน
  • ไม่มีกลิ่นเหม็น เพราะมีการราดน้ำหมักชีวภาพอยู่เสมอๆ

การเลี้ยงหมูลอย



การเลี้ยงหมูลอย

การเลี้ยงหมูลอยเป็นการสร้างคอก หมูบนสระน้ำ เศษอาหารและมูลหมูจะหล่นจากคอกลงในน้ำเป็นอาหารปลา มูลหมูก็อยู่ในบ่อ ซึ่งในบ่อได้ใส่หัวเชื้อชีวภาพ EM ลงไปทำให้กลิ่นเหม็นน้อยลง เมื่อครบสามเดือนก็สามารถใช้เครื่องสูบน้ำดูดน้ำขึ้นไปรดพืชอื่นๆ ในสวนได้

ข้อดีคือ
  • นอกจากจะได้หมูแล้ว ยังได้ปุ๋ยน้ำไปรดพืชอื่นๆ ได้ด้วย
  • ไม่ต้องให้ อาหารปลา เพราะปลาจะกินมูลหมูเป็นอาหาร และคนก็ได้กินปลา
ไม่มีกลิ่น เหม็น เพราะมีการใส่จุลินทรีย์ก้อนลงไปในน้ำเพื่อดับกลิ่นเหม็น

อาหารหมู(^๐๐^)

อาหารของหมู

การ เลี้ยงหมูประเภทหมูลาน และ หมูลอย นี้ใช้อาหารเหมือนการเลี้ยงหมูทั่วไปตามสูตร การเลี้ยงหมู แต่ถ้าหากผู้เลี้ยงมีเศษผัก เศษอาหารที่เหลือ ก็สามารถให้หมูกินได้ ส่วนการให้อาหารหมูในระยะต่างๆ มีดังนี้



* ลูกหมูระยะ ดูดนมแม่ เริ่มให้อาหารหมูนมโปรตีน 22% หรืออาหารหมูอ่อนโปรตีน 20% เมื่อลูกหมูมีอายุ 10 วัน ถึงหย่านม (หย่านม 28 วัน) และให้ต่ออีกประมาณ 3 วัน หลังจากหย่านมแล้ว

* ลูกหมูระยะหย่านม (หย่านม 28 วัน น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม) ให้อาหารหมูอ่อนโปรตีน 20 % จนถึงอายุ 2 เดือน (น้ำหนักประมาณ 12-20 กิโลกรัม)

* หมูระยะน้ำหนัก 20-35 กิโลกรัม ให้ อาหารโปรตีน 18% โดยให้หมูกินอาหารเต็มที่ หมูจะกินอาหารวันละ 1-2 กิโลกรัม

* หมูระยะน้ำหนัก 35-60 กิโลกรัม ให้ อาหารโปรตีน 16% หมูจะกินอาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม

* หมูระยะน้ำหนัก 30 กิโลกรัม-ส่งตลาด ให้ อาหารโปรตีน 14-15 % หมูจะกินอาหารวันละ 2.5-3.5 กิโลกรัมการให้อาหารหมูพันธุ์ทดแทน หมูตัวที่ต้องการจะเก็บไว้ทำพันธุ์(ยกเว้น หมูขุน ,หมูทดสอบพันธุ์) ควรจำกัดอาหารเพื่อไม่ให้อ้วนเกินไป เมื่อหมูน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม ใช้อาหารโปรตีน 16% ให้อาหารวันละ 2.2.5 กิโลกรัม

* การให้อาหารหมูพ่อพันธุ์ ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % - พ่อพันธุ์ตัวใหญ่ 150 กิโลกรัมขึ้นไป ให้อาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม - พ่อพันธุ์ตัวเล็ก 100-150 กิโลกรัม ให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม

* การให้อาหารแม่หมูอุ้มท้อง ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % แม่หมูจะตั้งท้องประมาณ 114 วัน ควรให้อาหารดังนี้ - แม่หมูสาวทดแทนให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม - แม่หมูหลังจากผสมพันธุ์ให้อาหารวันละ 1.5-2 กิโลกรัม - แม่หมูตั้งท้อง 0-90 วัน ให้อาหารวันละ 2 กิโลกรัม - แม่หมูตั้งท้อง 90-108 วัน ให้อาหารวันละ 2-2.5 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับสภาพแม่สุกรอ้วนหรือผอมด้วย) -แม่หมูตั้งท้อง 108-114 วัน ให้อาหารวันละ 1-1.5 กิโลกรัม (เมื่อตั้งท้องได้ 108 วัน ให้ย้ายเข้าคอกคลอด)

* การให้อาหารแม่หมูหลังคลอด ให้อาหารโปรตีนประมาณ 16% - คลอดลูกแล้ว 0-3 วัน ให้อาหารวันละ 1-2 กิโลกรัม -คลอดลูก 3-14 วัน ให้อาหารวันละ 2-3.5 กิโลกรัม - คลอดลูก 14 วันขึ้นไป ให้อาหารเต็มที่เท่าที่แม่หมูจะกินอาหารได้ หรือประมาณวันละ 4-6 กิโลกรัม ในกรณีที่แม่หมูมีลูก 7 ตัวขึ้นไป (ควรให้อาหารแม่หมูวันละ 3 ครั้ง เป็นอย่างน้อย ดูตามสภาพของแม่หมูระวังอย่าให้แม่หมูผอม)

* การให้อาหารแม่หมูหลังหย่านม ให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % - แม่หมูหย่านมในวันแรก ให้อาหารวันละ 1.1.5 กิโลกรัม - แม่หมูหย่านมจาก 2 วัน ขึ้นไป จนถึงแม่หมูเป็นสัด (แต่ไม่ควรเกิน 15 วัน) ให้อาหารวันละ 3-4 กิโลกรัม เพื่อให้แม่หมูสมบูรณ์พันธุ์เร็วขึ้นและเพิ่มการตกไข่ - แม่สุหมูเป็นสัดและผสมพันธุ์แล้ว ลดอาหารลงเหลือวันละ 1.5-2 กิโลกรัม - แม่หมูไม่เป็นสัดเกิน 15 วัน แสดงว่าแม่หมูผิดปกติ ให้ลดอาหารลงเหลือวันละ 2 กิโลกรัม และหาวิธีการทำให้แม่หมูเป็นสัด โดยทำให้แม่หมูเกิดความเครียด ใช้วิธีต้อนขังรวมกัน (แม่หมูขนาดน้ำหนักตัวใกล้เคียงกัน) หรือขังสลับคอกทุก ๆ 10 วัน ส่วนใหญ่แม่หมูก็จะเป็นสัด ถ้าหากปฏิบัติเช่นนี้แล้วภายใน 1 เดือน แม่หมูยังไม่เป็นสัด ควรคัดแม่หมูออกไปจากฝูง